10/25/2550

คณะกรรมการชมรมครอบครัวรุ่งอรุณ

เรียนท่านผู้ปกครอง ที่เคารพ
โรงเรียนร่วมกับชมรมครอบครัวรุ่งอรุณจะดำเนินการให้มีการเลือก
คณะกรรมการแต่ละสายชั้นในช่วงปลายภาคการศึกษาที่ ๒นี้
(ซึ่งเป็นไปตามระเบียบกรมสามัญศึกษาว่าด้วย
คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองพ.ศ.๒๕๔๖)
ทั้งนี้คุณพ่อรุ่งโรจน์ จตุรภุชพรพงศ์ (ผู้ปกครองของ วี,ไอ,พี ม.๒ และ เบ๊บ ป.๕)
ได้กรุณารวบรวมประโยชน์และรูปแบบการจัดคณะกรรมการฯ
มาเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่พวกเราชาวรุ่งอรุณ
ก่อนที่จะกำหนดวันเลือกคณะกรรมการฯ อย่างเป็นทางการต่อไป
หากต้องการแลกเปลี่ยน เพิ่มเติม ความเห็นใดๆ สามารถ post ได้ที่นี่ค่ะ
หรือแลกเปลี่ยนกับ คุณรุ่งโรจน์โดยตรงที่ rungrote@hotmail.com
-------------------------------------------------------------------------------

ประโยชน์ของการจัดให้มีกรรมการของแต่ละสายชั้น

1.เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างคุณครูและผู้ปกครอง

2.เวลาที่คุณครูต้องการความร่วมมือ หรือความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง ก็สามารถติดต่อผ่านมาทางกรรมการชมรมครอบครัวของสายชั้นได้

3.เวลาที่ผู้ปกครองมีความคิดเห็น มีโครงงาน หรือข้อเสนอแนะ ก็สามารถติดต่อผ่านมาทางกรรมการชมรมครอบครัวของสายชั้น เพื่อนำเสนอคุณครูอีกที

4.แก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาสาสมัครผู้ปกครอง

5.อาจจะทำให้เกิดโอกาสในการสร้างสรรค์กิจกรรม หรือต่อยอดกิจกรรมต่างๆมากขึ้นตามความเหมาะสมและตามความต้องการของผู้ปกครองในสายชั้นนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น


6.ทำให้มีผู้ประสานงานต่อเนื่อง แม้กระทั่งจบการศึกษาจากที่โรงเรียนไปแล้วผู้ปกครองก็ยังสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องต่อไปได้ โดยอาจจะตั้งชื่อกรรมการของแต่ละสายชั้นว่า “คณะกรรมการ ชมรมครอบครัวรุ่งอรุณรุ่นที่.....(ตามลำดับที่ของรุ่นตอนที่จบม.6)” ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อทุกปี (ตามชื่อชั้นเรียนที่เลื่อนขึ้นทุกปี)

7.แนวโน้มในอนาคต โรงเรียนโดยทั่วไปคงต้องมีกรรมการของแต่ละสายชั้นในโรงเรียนอยู่แล้วตามพ.ร.บ.ของกระทรวงที่ได้กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นการจัดให้มีกรรมการชมรมครอบครัวของแต่ละสายชั้นยิ่งเร็ว น่าจะมีผลดีกว่ามาเริ่มกันช้า

8.ไม่แน่การจัดให้มีกรรมการของแต่ละสายชั้น อาจจะเป็นหนึ่งในกติกาสำหรับสมศ.ที่จะตรวจเช็คว่าโรงเรียนใดผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสมศ.บ้าง ซึ่งโรงเรียนใดที่ผ่านก็สมควรที่จะเป็นโรงเรียนตัวอย่างนำร่องให้กับโรงเรียนอื่นๆ ในประเทศได้อีกด้วย (คิดว่าหลายท่านคงอยากให้โรงเรียนของเราเป็นตัวอย่างนำร่องให้กับโรงเรียนอื่นด้วย เนื่องจากปกติก็จะมีโรงเรียนอื่นๆ มาดูงานที่โรงเรียนเป็นประจำอยู่แล้ว)

9.เวลาจะหาตัวแทนของแต่ละสายชั้น ก็จะหาได้ง่ายขึ้น

10.หากมีโอกาสที่ต้องหาตัวแทนครอบครัวของแต่ละสายชั้นหรือของโรงเรียนเพื่อไปร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนอื่นหรือองค์กรข้างนอก ก็จะหาได้ง่ายขึ้น และดูเป็นทางการมากขึ้น


11.หากมีกรรมการของแต่ละสายชั้นเป็นแบบกิจจะลักษณะขึ้นมา เมื่อผู้ปกครองจะสื่อกันในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าข่าวกิจกรรม หรือการนัดหารือ ก็สามารถที่จะติดต่อ แจ้งข่าวกันเองได้ โดยไม่ต้องรบกวนคุณครู ยกตัวอย่างเช่น อาจจะใช้วิธี Telephone Tree คือทำแผนภูมิขึ้นมาเป็นแบบ network มีชื่อผู้ปกครองพร้อมทั้งเบอร์โทรติดต่อ และนัดแนะกันว่าผู้ปกครองท่านใดจะโทรแจ้งข่าวท่านใดบ้าง การโทรชวนกันทางโทรศัพท์ จะเสริมความรู้สึกทำให้อยากมาร่วมกิจกรรมมากขึ้น เหมือนกับการที่เพื่อนโทรชวนเพื่อน อาจทำให้อยากมาเจอเพื่อนแบบเจอตัวจริงบ้าง ซึ่งดีกว่าแจ้งข่าวผ่านเพียงกระดาษจดหมาย อีกทั้งวิธีนี้ก็ทำให้การกระจายข่าวทำได้เร็ว และแน่นอนขึ้น ไม่ตกหล่น จำนวนผู้ปกครองที่ไม่ได้รับข่าวน่าจะน้อยลง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอหากใช้วิธีบอกทางจดหมาย

12.เมื่อมีการนัดพูดคุยกัน ถกถึงปัญหาต่างๆ ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน หรือระหว่างคุณครูและผู้ปกครอง จะมีแบบแผนมากขึ้น โดยคณะกรรมการของสายชั้นนั้นสามารถที่จะระดมสมอง ช่วยกันวางแผน กรอบกติกา รูปแบบของการพูดคุยได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งเป็นคนกลางในการพูดคุย คอยประคับประคองให้การพูดคุยไม่ดูเคร่งเครียด ช่วงใดที่มีการพูดคุยแล้วไม่ชัดเจน ก็เป็นคนกลางช่วยถามเสริมเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ทำให้บรรยากาศของการพูดคุยน่าจะออกมาดีขึ้นกว่าเดิม และทำให้การนัดพูดคุยกันในแต่ละครั้ง ดูมีประโยชน์อย่างเต็มที่ ทำให้ผู้ที่มาร่วมพูดคุยอยากจะมาอีกในครั้งต่อๆ ไป ที่ผ่านมาเวลาผู้ปกครองมีข้อสงสัยหรือปัญหา จะไม่กล้าที่จะนัดพูดคุยกัน เพราะเกรงว่าจะยิ่งส่งผลเสียหากเกิดข้อขัดแย้งระหว่างกันขึ้นมา จึงเลี่ยงการพูดคุย แล้วไปหาทางแก้ไขปัญหากันเองตามลำพัง

------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปแบบการจัดคณะกรรมการชมรมครอบครัวของแต่ละสายชั้น
(คณะกรรมการชมรมครอบครัวรุ่งอรุณรุ่นที่....)


1.ตามที่พ.ร.บ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม 2545) ข้อ 6.1 หัวข้อที่ (1) ระบุไว้ว่าคณะกรรมการระดับห้องเรียนมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วยประธาน รองประธาน เลขานุการ นายทะเบียน และประชาสัมพันธ์ สำหรับโรงเรียนเราหากสรรหากรรมการห้องเรียนห้องละ 5 คน ในแต่ละสายชั้นมี 3 ห้องเรียน ก็จะมีกรรมการแต่ละสายชั้นทั้งหมด 15 คน โดยอาจมีวาระในการทำงานครั้งละ 3 ปี หรืออาจจะกำหนดให้มีการสรรหาเมื่อลูกอยู่ชั้น ป.1, ป.4, ม.1และม.4

2.คณะกรรมการแต่ละสายชั้นอาจจะมีการมอบหมายตำแหน่งหน้าที่ หรืออาจจะไม่มีก็ได้ ทั้งนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่หากมีการมอบหมายตำแหน่งหน้าที่ก็จะทำให้มีความชัดเจนของหน้าที่การทำงานของแต่ละท่านมากขึ้น


3.ภายในวาระการทำงานของกรรมการ อาจจะมีการถอนตัวก็สามารถทำได้ อาจเป็นเพราะไม่มีเวลาเนื่องจากติดภารกิจอื่นที่เกิดขึ้นมาใหม่ หรือลูกได้ลาออกจากโรงเรียนไปแล้ว ก็ให้มีการสรรหากรรมการขึ้นมาแทน

4.การสรรหากรรมการอาจจะใช้วิธีการสมัครเข้ามาตามความสมัครใจของแต่ละท่าน และถ้าหากมีมากเกินจำนวนก็คงต้องใช้วิธีลงคะแนนคัดเลือกโดยผู้ปกครองกันเอง แต่คิดว่าที่เกริ่นมาคงเป็นไปได้ยาก เพราะเท่าที่ฟังกันมาจากหลายๆ โรงเรียน การหาอาสาสมัครเข้ามาทำงานเป็นกรรมการค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก คงต้องใช้วิธีในข้อถัดไป


5.การสรรหาคณะกรรมการอีกวิธีหนึ่ง อาจจะใช้รูปแบบการทำ “ห้องเรียนพ่อแม่” โดยเชิญคุณป๊อป จากมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวมาเป็นวิทยากร มาพูดคุยในหัวข้อ “เครือข่ายครอบครัวในโรงเรียนมีประโยชน์อย่างไรกับการพัฒนาการเรียนของลูก” (พยายามตั้งชื่อให้ดึงดูดผู้ปกครองให้มาร่วมกิจกรรมให้มากที่สุดโดยให้เกี่ยวข้องกับการเรียนของลูก) หลังจากวิทยากรพูดคุยเสร็จ ก็มีการทำกลุ่ม Self-Help-Group หรือทำกิจกรรมสันทนาการกลุ่มเพื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้รู้จักกันมากขึ้น เสร็จแล้วก็ลองหาวิธีให้แต่ละสายชั้นมีการคัดเลือกกรรมการขึ้นมา โดยในการจัดกิจกรรมครั้งนี้อาจจะจัดทีเดียวหลายสายชั้นก็ได้ เพราะผู้ปกครองแต่ละสายชั้นอาจจะมากันไม่มาก


6.สำหรับผู้ปกครองที่ไม่ได้มาร่วม แต่มีความสนใจที่จะสมัครเป็นกรรมการก็สามารถจะฝากผู้ปกครองท่านอื่นมาบอกได้ เพราะฉะนั้นน่าจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าด้วยว่าในวันนั้นจะมีการสรรหากรรมการ

7.การที่คิดว่าให้กรรมการมีวาระทำงานได้ถึง 3 ปี ก็เพื่อที่จะไม่ต้องสรรหากรรมการถี่นัก เพราะในการสรรหากรรมการแต่ละครั้งก็เป็นภาระพอสมควร อีกทั้งในแต่ละปีกรรมการก็คงไม่ได้ทำกิจกรรมมากมายนัก โดยเฉพาะในปีแรกที่ได้เป็นกรรมการ กว่าจะเข้าที่เข้าทางได้ ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร


8.เมื่อกรรมการครบวาระแล้ว มีการสรรหาครั้งใหม่ กรรมการท่านเดิมอาจได้รับมอบหมายให้เป็นอีกก็ได้ หากเจ้าตัวสมัครใจและผู้ปกครองท่านอื่นก็เห็นชอบด้วย

9.การเปิดรับสมัครผู้ที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการของแต่ละสายชั้น อาจจะเป็นข้อดีที่ช่วยให้ผู้ปกครองที่มีความสนใจ มีช่องทางเสนอตัวเองเข้ามา ซึ่งเดิมผู้ปกครองกลุ่มนี้อาจมีความสนใจ แต่ไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไร ปล่อยล่วงเลยไป ก็ทำให้ความสนใจเริ่มถดถอยลง เช่นเดียวกับผู้ปกครองบางท่าน ซึ่งเดิมอาจจะกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่มั่นใจในความสามารถของตน ที่จะอาสาเข้ามาเป็นคณะกรรมการ แต่เมื่อเห็นว่าไม่มีคนอาสา ก็เลยยอมอาสาเข้ามาเป็นคณะกรรมของสายชั้นตน ดีกว่าที่จะปล่อยว่างไว้ ไม่มีคนทำงาน


10.ศูนย์การเรียนรู้ครอบครัวรุ่งอรุณจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของชมรมครอบครัวแต่ละสายชั้น ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ช่วยประสานงาน ตลอดจนติดต่อกับองค์กรข้างนอกเพื่อของบประมาณมาสนับสนุนในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเครือข่ายครอบครัวในโรงเรียนให้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การจัดอบรม สัมมนา ค่าย AIC ให้กับคณะกรรมการชมรมครอบครัวรุ่งอรุณ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำกิจกรรมครอบครัว ตลอดจนแนะนำวิธีทำงานร่วมกันอย่างไรไม่ให้เกิดข้อขัดแย้ง หรือการจัดค่ายครอบครัวสำหรับครอบครัวของคณะกรรมการ (อาจจะเป็นการเดินทางไปต่างจังหวัด 2 วัน 1 คืน) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคณะกรรมการด้วยกันมากขึ้น

รวบรวมโดย
นายรุ่งโรจน์ จตุรภุชพรพงศ์
โทร. 081-9124390
15 ต.ค. 2550

10/13/2550

บทความ : การศึกษาในยุคแห่งความคิดสร้างสรรค์และเชื่อมั่นในตนเอง

คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายภาพขนาดใหญ่
อ่านทีละแผ่น แล้วเชิญ แลกเปลี่ยนกันค่ะ
(๑)

(๒)


(๓)



(๔)




(๕)



(๖)




(๗)






(๘)








(๙)









(๑๐)







(๑๑)









(๑๒)








(๑๓)






<คลิ้กที่รูปภาพเพื่อขยายขนาดใหญ่>
ทะยอยอ่าน ทีละหน้า แล้วแลกเปลี่ยนความเห็นกันค่ะ

10/04/2550

4 all Teachers

เราสร้างการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในชีวิตของ
ผู้คนรอบๆตัวเราโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว
การกระทำเล็กๆของเรามีความหมายเสมอ
บางคนฝากความหมายที่งดงาม
บางคนฝากรอยแผลอันรวดร้าว

เชิญชม ภาพยนตร์สั้นที่น่าประทับใจ
http://www.makeadifferencemovie.com/